ประเภทของ DNS Zone

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

ประเภทของ DNS Zone

ประเภทของ DNS Zone มีรายละเอียดเชิงลึกมากมายต้องทำความเข้าใจ

DNS Server จะแบ่งโซนไฟล์ออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้

– Primary zone เป็นการกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์เครื่องนี้ทำงานที่เป็น Primary DNS Server หรือ Name Server หลักของระบบ มีหน้าที่เก็บฐานข้อมูล คือ โซนไฟล์ (Zone File) ประกอบด้วยทรัพยากรเรคอร์ด (Resource Record) ของโดเมนที่รับผิดชอบไว้

จะมีชื่อไฟล์ ชื่อโซน .dns และเก็บอยู่ในตำแหน่ง windows\system32\dns ผู้ดูแลระบบสามารถจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเรคอร์ดต่างๆ ในโซนไฟล์ของเครื่อง Primary DNS Server นี้เท่านั้น

– Secondary zone เป็นการกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์เครื่องนี้ทำหน้าที่เป็น Secondary DNS Server หรือ Backup Name Server ของระบบ

มีหน้าที่สำรองฐานข้อมูลโซนไฟล์จาก Primary DNS Server และฐานข้อมูล DNS ของ Secondary DNS Server จะเป็นแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read only)

ไม่สามารถแก้ไขได้ จึงต้องมีการทำกระบวนการ “DNS Zone Transfer” จากเครื่อง Primary DNS Server จัดการเรพลิเคตข้อมูลมายังเครื่อง Secondary DNS Server เป็นระยะๆ

– Fault Tolerance เนื่องจากภายในโซนจะมี Primary Name Server และ Secondary Name Server ถ้าเกิดเหตุการณ์เครื่องแรกมีปัญหา (Down) เครื่อง Secondary Name Server ยังทำงานแทนได้ (เรียกว่าระบบ Redundancy) ทำให้ไคลเอนต์ยังสอบถามเรคอร์ดต่างๆ บนโดเมนได้

– Load Balancing เป็นการแบ่งเบาภาระของ Primary Name Server โดยการกำหนดให้ไคลเอนต์บางส่วนเข้าใช้บริการสอบถามเรคอร์ด (SRV, SOA) ที่อยู่ในโซนจากเครื่อง Secondary Name Server

– Distribution เป็นการกระจายทราฟฟิกบนระบบเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะระบบ WAN ซึ่งมีความเร็วต่ำกว่า LAN โดยติดตั้งเครื่อง Secondary Name Server เอาไว้ที่สำนักงานสาขาที่มีเครื่องไคลเอนต์อยู่จำนวนมาก เพื่อให้ไคลเอนต์เหล่านั้น

ใช้บริการบนเครื่องนี้ไม่ต้องสอบถามเรคอร์ดบน Primary Name Server ผ่านเครือข่าย WAN ซึ่งมีลิงก์ต่ำ และยังเพิ่มปริมาณทราฟฟิกหรือช่องทางการจราจรให้ระบบอีกด้วย

– Caching Only Server เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่มีข้อมูลของโซนไฟล์ และไม่มีการเรพลิเคตข้อมูลจาก Primary Name Server เนื่องจาก Caching Only Server จะเก็บเรคอร์ดของโซนไฟล์ที่แมปชื่อได้ไว้ในหน่วยความจำแคช (Cache Memory) การทำงานพื้นฐานจะคล้าย Web Caching กล่าวคือ เมื่อไคลเอนต์สอบถามเรคอร์ดที่ต้องการ

เซิร์ฟเวอร์ไม่มีข้อมูลของโซนไฟล์ จึงทำการสอบถามไปยังเครื่อง Name Server อื่น แล้วเก็บข้อมูลที่ได้มาไว้ในหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ในครั้งต่อไปถ้ามีการสอบถามเรคอร์ดเดิม ก็สามารถส่งข้อมูลให้ไคลเอนต์ได้ทันที

ในการใช้งานจะต้องกำหนด Forward Name Server ให้กับเครื่อง Caching Only Server สำหรับส่งต่อการร้องขอไปยัง Name Server อื่น หรือบนอินเทอร์เน็ตที่มีโซนไฟล์อยู่

 

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

You May Also Like